ก่อนทำการติดตั้งประตูม้วน ท่านควรปรึกษาทีมช่างผู้ชำนาญงานก่อน เพราะการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดขั้นตอนจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งยังมีผลในด้านความปลอดภัย ความแข็งแรง และอายุการใช้งานของประตูม้วนที่ลดลงด้วย

.. ขั้นตอนแรกที่ควรพิจารณาคือเลือกหาทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น

โดยท่านควรทำการตรวจสอบและตั้งคำถามกับทีมช่างดังต่อไปนี้

  1. สอบถามถึงว้สดุที่ใช้ในการทำประตูว่ามีแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานตามหลักอุตสาหกรรม
  2. สอบถามถึงส่วนประกอบ ชิ้นส่วนต่างๆ อาทิ เพลาประตู ล็อคพื้น แม่กุญแจ ที่ได้มาตรฐาน มีความแข็งแรง ทนทาน
  3. สอบถามถึงประสบการณ์ในการติดตั้งว่ามีความเข้าใจในการเลือกวัสดุ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วนที่เหมาะสม
  4. สอบถามถึงลูกค้าที่เคยใช้งานบริการว่ามีมากเท่าใดและลูกค้าเหล่านั้นได้รับความพึงพอใจหรือไม่
  5. สอบถามถึงบริการหลังการขาย มีบริการการดูแล บำรุงรักษาประตูม้วน ให้กับลูกค้าอย่างไร

หลังจากที่ท่านแน่ใจเลือกทีมงานที่จะให้บริการได้แล้วควรให้ทีมงานเข้าตรวจพื้นที่หน้างานที่จะทำการติดตั้งก่อน โดยทีมงานจะให้คำแนะนำถึงวัสดุที่มีให้เลือกใช้ ตัวอย่างเช่นหากบานประตูมีขนาดกว้างกว่า เมตร สูง เมตร ควรใช้ใบลอนที่มีความหนา 0.6 มม.ขึ้นไป เพราะหากเลือกใช้ใบลอนที่บางเกินไปจะเป็นปัญหาในภายหลังได้ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ

  • การเลือกประเภทของใบลอน ว่าจะใช้ใบลอนเหล็ก หรือ ใบลอนสแตนเลส
  • ความกว้างของใบลอน 7ซม. 9ซม. 11ซม.
  • ใบลอนเดี่ยว หรือใบลอนคู่ ใบลอนแบบทึบ หรือแบบโปร่ง
  • ระบบประตูม้วนแบบมือผลัก ระบบรอกโซ่ หรือระบบมอเตอร์ไฟฟ้า

เมื่อท่านเข้าใจหลักการในการเลือกใช้ระบบประตูม้วนที่เหมาะสมแล้ว ทีมงานก็จะทำการออกแบบ เลือกใช้วัสดุ ประเภทใบลอน สี อุปกรณ์ ชิ้นส่วน ให้เหมาะสมกับการใช้งานและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า รวมถึงการประเมินราคา ค่าใช้จ่าย ทั้งหมด

เมื่อหน้างานมีความพร้อมทีมงานก็จะทำการนัดเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งมีขั้นตอนคร่าวๆดังต่อไปนี้

  1. ในกรณีที่เป็นอาคารที่กำลังก่อสร้าง จะทำการวางระดับ และหาแนวดิ่ง เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆเช่น ล็อคพื้น เสาข้าง ก่อนการเทพื้น  หรือหากเป็นอาคารเก่าที่ต้องการเปลี่ยนประตูแบบอื่นมาเป็นประตูม้วน ก็จะทำการสกัดพื้นหรือเสาเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ได้เช่นกัน
  2. ทำการติดตั้งส่วนประกอบ ชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน สามารถประกอบชิ้นส่วนประตูบางส่วนจากทางโรงงาน หรือนำชิ้นส่วนไปประกอบหน้างานก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะกายภาพและข้อจำกัดหน้างาน
  3. ทำการติดตั้งอุปกรณ์เสริมอื่นๆอาทิ การติดตั้งระบบสวิตซ์ไฟ การเดินไฟจ่ายกำลังเข้ามอเตอร์ไฟฟ้า การตั้งสัญญาณรหัสรีโมทคอนโทรลเลอร์ การติดตั้งระบบเซนเซอร์
  4. ตรวจสอบชุดอุปกรณ์ต่างๆว่าติดตั้งถูกต้อง มั่นคง แข็งแรงดี
  5. ทำการทดสอบ เปิดปิดประตูม้วนจนเป็นที่แน่ใจว่าทำงานได้ดี ทั้งระบบ
  6. ส่งมอบงาน

ทั้งนี้การทำงานในแต่ละขั้นตอนยังมีรายละเอียดอีกมาก ช่างผู้ชำนาญงานจะต้องตรวจสอบการทำงานด้วยความละเอียด เพราะหากมีข้อผิดพลาดแล้วประตูม้วนที่ติดตั้งจะมีปัญหาภายหลังได้ โดยทางทีมงานจะได้กล่าวถึงปัญหาที่พบมากในโอกาสต่อไป